วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ชื่อเรื่องภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรกรรม


ชื่อเรื่อง                                            การเกษตรกรรม
ชื่อประเภทภูมิปัญญาไทย          ด้านการทำไร่นาส่วนผสม
ชื่อผู้สัมภาษณ์                                นางสาวพัชรีญา  สุขจิต
ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์                           นางนางสมพิษ ติยะภา
สถานที่สัมภาษณ์            ที่หมู่บ้านดอนข่า หมู่ ที่ 7 อ.ชนบท ต.ชนบท จ.ขอนแก่น 40180
วันเวลาการสัมภาษณ์                  28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของการทำเกษตรสวนผสม
ระบบเกษตรกรรมที่จะนำไปสู่การเกษตรยั่งยืน โดยมีรูปแบบที่ดำเนินการมีลักษณะใกล้เคียงกัน และทำให้ ผู้ปฏิบัติมีความสับสนในการให้ความหมายและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ระบบเกษตรผสมผสานและระบบ ไร่นาสวนผสม ในที่นี้จึงขอให้คำจำกัดความรวมทั้งความหมายของคำทั้ง 2 คำ ดังต่อไปนีระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System)
     เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง  ๆ  ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวด ล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช  พืชกับสัตว ์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้  ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุน เวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด  ภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้   เป็นต้น
ระบบไร่นาสวนผสม (Mixed/Diversefied/Polyculture Farming System)    เป็นระบบการเกษตรที่มีกิจกรรมการผลิตหลาย ๆ กิจกรรมเพื่อตอบสนองต่อการบริโภคหรือลดความเสี่ยงจากราคา ผลิตผลที่มีความไม่แน่นอนเท่านั้น   โดยมิได้มีการจัดการให้กิจกรรมการผลิตเหล่านั้นมีการผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อ ลดต้นทุนการผลิต และคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเหมือนเกษตรผสมผสานการทำไร่นาสวนผสมอาจมีการเกื้อกูลกันจาก กิจกรรมการผลิตบ้าง แต่กลไกการเกิดขึ้นนั้นเป็นแบบ “เป็นไปเอง” มิใช่เกิดจาก “ความรู้ ความเข้าใจ” อย่างไร ก็ตามไร่นาสวนผสม สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถของเกษตรกรผู้ดำเนินการให้เป็นการดำเนินการในลักษณะ ของระบบเกษตรผสมผสานได้
รูปแบบของเกษตรผสมผสาน
รูปแบบของระบบเกษตรผสมผสาน ระบบเกษตรผสมผสานนั้น ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะมีการดำเนินการกันมาช้านานแล้วก็ตามแต่ลักษณะของการดำเนินการ ยังมีความแตกต่างกันไป แล้วแต่การจะนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาผสมผสานกันมากน้อยแค่ไหน และผสมผสานในรูป รูปแบบใดก็ตามยังมีความหมายหลากหลาย การศึกษารายละเอียดเชิงวิชาการในด้านนี้ก็ยังมีไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบ กับการศึกษาในด้านกิจกรรมเดี่ยว ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือปลาก็ตาม ฉะนั้นการกำหนดรูปแบบดำเนินการเกษตร ผสมผสานก็จะมีหลายแบบเช่นกัน ทั้งนี้อาจจะยึดการแบ่งตามวิธีการดำเนินการลักษณะพื้นที่กิจกรรมที่ดำเนินทรัพยากร เป็นต้น ซึ่งพอที่จะกล่าวได้ดังนี้
1. แบ่งตามกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่เป็นหลัก
1.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมพืชเป็นหลัก ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการนี้จะมีพืชเป็นรายได้หลัก
1.2 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก ซึ่งการดำเนินการเลี้ยงสัตว์จะเป็นรายได้หลัก
1.3 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมประมงเป็นหลัก ซึ่งจะมีกิจกรรมเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นรายได้หลัก
1.4 ระบบเกษตรผสมผสานแบบไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตรเป็นระบบที่มีการจัดการป่าไม้เป็นหลักร่วมกับการเกษตร ทุกแขนง อาจประกอบด้วยการปลูกพืชเกษตรในสวนป่า การปลูกพืชเกษตรร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ในสวนป่าระบบนี้มุ่ง หวังที่จะให้เป็นตัวกลางเพื่อผ่อนคลายความต้องการที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมกับความต้องการป่าไม้ เพื่อควบคุมสิ่ง แวดล้อมให้สามารถดำเนินควบคู่กันไปโดยคำนึงถึงสภาพทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมประเพณี   รวมทั้งช่วย พัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรที่เกี่ยวข้อง ระบบวนเกษตรที่ดีควรสามารถเพิ่มการซึมซับน้ำ รักษาน้ำใต้ดิน ลดการสูญ เสียดิน ลักษณะพันธุ์พืชที่ใช้ควรเป็นทรงพุ่มเพื่อลดความรุนแรงของเม็ดฝนที่ตกกระทบผิวดินสามารถรักษาสภาพดุลย์ ของสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูกร่วม เช่น บังร่มเงา พายุ ฝน อีกทั้งควบคุมสภาพความชุ่มชื้นและอุณหภูมิ ให้ดี พันธุ์ไม้ที่ปลูกควรมีรากลึกพอที่สามารถหมุนเวียนธาตุอาหารในระดับที่ลึกขึ้นมาสู่บริเวณผิวดิน เป็นประโยชน์ต่อ พืชรากตื้นที่ปลูกร่วม โดยรวมทั้งระบบควรให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรหลายด้าน เช่น ผลผลิตในรูปอาหาร ยารักษา โรค ไม้ฟืน ไม้สร้างบ้านและรายได้ สิ่งสำคัญที่สุดควรเป็นระบบที่อนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีปลูกได้หลายสภาพแวดล้อม และง่ายต่อการปฏิบัติในสภาพของเกษตรกรวนเกษตรที่พอประยุกต์ใช้ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ระบบใหญ่ คือ ระบบป่า ไม้-ไร่นา, ระบบป่าไม้-เลี้ยงสัตว์ และระบบเลี้ยงสัตว์-ป่าไม้-ไร่นา ซึ่งวิธีการนำแต่ละระบบไปประยุกต์ใช้ย่อมขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของพื้นที่เป็นเกณฑ์
2. แบ่งตามวิธีการดำเนินการ2.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีการใช้สารเคมี ในระบบการผลิตจะมีการใช้สารเคมีในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์ ให้ได้ผลผลิตและรายได้สูงสุด
2.2 ระบบการเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ฮอร์โมน สารเคมีในอาหาร สัตว์ คำนึงถึงการสงวนรักษาอินทรีย์วัตถุในดินด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนการปลูกพืชคลุมดิน ใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ใช้ เศษอินทรีย์วัตถุจากไร่นา มุ่งสร้างความแข็งแกร่งให้แก่พืชด้วยการบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้ก็จะอยู่ในรูป ปลอดสารพิษ
2.3 ระบบการเกษตรธรรมชาติ เป็นระบบการเกษตรที่ใช้หลักการจัดระบบการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่ประสานความ ร่วมมือกับธรรมชาติอย่างสอดคล้องและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน งดเว้นกิจกรรมที่ไม่จำเป็นหลักใหญ่ ๆ ได้แก่ ไม่มีการ พรวนดิน ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่กำจัดวัชพืช ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งนี้จะมีการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน ใช้วัสดุเศษ พืชคลุมดิน อาศัยการควบคุมโรคแมลงศัตรูด้วยกลไกการควบคุมกันเองของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ การปลูกพืชใน ในสภาพแวดล้อมที่มีความสมดุลย์ทางนิเวศวิทยา

วิธีการทำไร่นาสวนผสม

หลักการทำไร่นาสวนผสม การทำการเกษตรแบบผสมผสานหรือการทำไร่นาสวนผสมนั้น ยังคงยึดตามหลักปฏิบัติของ
เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกษตรกรมีความสามารถในการจัดการและจัดสรรพื้นที่ดิน แหล่งน้ำ 
ทุน แรงงาน และกิจกรรมการเกษตรให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่
 และความต้องการของเกษตรกร เพือให้พออยู่พอกินในครอบครัว ผลผลิตที่เหลือจึงจำหน่ายมีรายได้
ต่อเนื่อง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี สู่ครอบครัว ตลอดจนเป็นการลดความเสี่ยงในการดำเนิน
กิจกรรมการเกษตรและสามารถพึ่งตนเองได้  ซึ่งมีหลักคิดและการจัดการดังนี้
 วัตถุประสงค์ของการทำไร่นาสวนผสม : 1. เพื่อเพิ่มรายได้ต่อครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง จากกิจกรรมการปลูกพืชหลายครั้งหลายชนิดหรือจากการผสมผสานกิจกรรม ทั้งพืช สัตว์ ประมง เข้าไว้ด้วยกัน
2. เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรที่ดิน ทุน แรงงาน อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะธรรมชาติและการตลาดที่แปรปรวน และสามารถเลือกกิจกรรมการผลิตให้เหมาะสมกับพื้นที่

4. เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรประกอบอาชีพตามหลักวิชาการทั้งด้านการผลิตและการจำหน่าย โดยยึดหลักการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตต้นทุนการผลิตต่อหน่วย มีรายได้ต่อเนื่อ
งและกำไรสูงสุด
เหตุผลที่ต้องมีการทำไร่นาสวนผสม : 1. เพื่อเพิ่มระดับรายได้และมีรายได้รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี
2. เพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะธรรมชาติและการตลาดที่แปรปรวน
3. เพื่อลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอกให้น้อยลง โดยพึ่งพาทรัพยากรในไร่นามากขึ้น
4. กิจกรรมหลากหลายมีทั้งกิจกรรมเพิ่มรายได้ มีอาหารไว้บริโภคและใช้สอยในครัวเรือน
5. ในระยะยาวสร้างความสมดุลทางธรรมชาติทำให้ระบบวิเวศเกษตรชุมชนดีขึ้น
6. เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักวางแผนและงบประมาณการผลิต

ขั้นตอนการปลูกพืช



ถ้าเราศึกษาสภาพป่าเราจะเห็นว่าในป่ามีต้นไม้นานาชนิดขึ้นปะปนกันอยู่เต็มไปหมด ผิวดินถูกปกคลุมไปด้วยใบไม้ที่หล่นทับถมกัน สัตว์ป่าถ่ายมูลไว้ที่ผิวหน้าดินคลุกเคล้ากับใบไม้และซากพืช มูลสัตว์รวมทั้งซากสัตว์ โดยมีสัตว์เล็ก ๆ เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ จิ้งหรีด ฯลฯ กัดแทะเป็นชิ้นเล็ก ๆ และมีจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินช่วยย่อยสลายจนกลายเป็นฮิวมัส ซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและใช้ในการเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่านั่นเอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเอาปุ๋ยเคมีไปใส่ในป่า ซึ่งเกษตรกรสามารถเลียนแบบป่าได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด ใช้ปุ๋ยชีวภาพ เช่น ไรโซเบียม ไมโครไรซ่า เป็นต้น ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี นอกจากนี้ใบไม้และเศษพืชที่ปกคลุมผิวดินก็เป็นการคลุมผิวหน้าดินไว้ ป้องกันการสูญเสียความชื้นภายในดินทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไชชอนของรากพืช ถ้าศึกษาต่อไปจะพบว่า แม้ไม่มีใครนำเอายาฆ่าแมลงไปฉีดพ่นให้ต้นไม้ในป่า แต่ต้นไม้ในป่าก็เจริญเติบโตแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงได้ตามธรรมชาติ ถึงแม้จะมีโรคและแมลงรบกวนบ้างก็ไม่ถึงขั้นเสียหายและยังสามารถให้ผลผลิตได้ตามปกติ นั่นก็คือ ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่บนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะสามารถต้านทานโรคและแมลงได้ นอกจากนี้พืชในป่าก็มิได้เป็นพืชชนิดเดียวกันทั้งหมด แต่เป็นพืชหลากหลายชนิดทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลง และแมลงบางชนิดก็เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ดังนั้นจึงเกิดสมดุลตามธรรมชาติโอกาสที่แมลงศัตรูพืชจะระบาดจนเกิดความเสียหายจึงมีน้อย ดังนั้นเกษตรกรจึงสามารถจำลองสภาพป่าไว้ในไร่-นาโดยการปลูกพืชให้หลากหลายชนิด

ข้อพิจารณาในการทำไร่

การพิจารณาด้านพื้นที่ 1. แบ่งพื้นที่บางส่วนมาจัดทำไร่นาสวนผสม ซึ่งระยะแรกรายได้เกิดจากกิจกรรมบางส่วน
2. สภาพพื้นที่ลุ่มน้ำหรือนาเดิม ถ้าจะปลูกไม้ผลควรยกร่องไม้ผลและมีคันดินล้อมรอบแปลงไม้ผล
3. พื้นที่ลุ่มน้ำมากน้ำท่วมเป็นประจำเกษตรกรอาจจะขุดบ่อเลี้ยงปลา หรือทำนาบัว นาผักบุ้ง นาผักกระเฉด
4. พื้นที่ดอนในการทำสวนไม้ผล ควรมีสภาพพื้นที่มีความลาดชันไม่เกิน 30 % สภาพดินมีหน้าดินลึกกว่า 1 เมตร และดินชั้นล่างต้องไม่เป็นดินดานแข็งหรือศิลาแลง
5. กรณีที่สภาพดินมีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินพรุ และดินที่มีปัญหาอื่นๆ ควรมีการปรับปรุงก่อนการปลูกพืช
การพิจารณาด้านแหล่งน้ำ 1. ควรมีสระน้ำ คูคลอง ร่องน้ำ หรือแหล่งน้ำระดับไร่นาเสริมในฤดูแล้ง ประมาณ 30 % ของพื้นที่
2. บ่อน้ำบาดาล เพื่อใช้ในฤดูแล้ง โดยเฉพาะพืชไร่ พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ
3. บ่อปลาเป็นแหล่งอาหารโปรตีนและเพิ่มรายได้ในฤดูแล้ง อาศัยน้ำในบ่อใช้ในการปลูกพืชบริเวณขอบบ่อปลาและพืชผักสวนครัว
การพิจารณาด้านเงินทุน
1. เงินลงทุนในระยะแรกจะค่อนข้างสูง ควรพิจารณากิจกรรมส่งเสริมให้ผลตอบแทนเร็วในช่วงแรกๆ
2. เงินทุนที่มีอยู่ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับชนิดและกิจกรรมการผลิต
3. กรณีที่เกษตรกรกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ควรวางแผนการใช้จ่ายเงิน และผลตอบแทนในลักษณะกระแสเงินสดของฟาร์ม
การพิจารณาด้านเกษต
1. มีความขยันขันแข็ง กระตือรือร้น มีความคิดสร้างสรรค์ ยอมรับในการเปลี่ยนแปลงใหม่ มีความคิดเชิงธุรกิจ
2. แรงงานทำการเกษตรอย่างน้อย 3 คน ต่อพื้นที่ 10 ไร่
3. มีทักษะในการวางแผนและงบประมาณแรงงานในการผลิตอย่างเหมาะสม
การพิจารณาด้านอื่นๆ
1. ร่องน้ำแปลงไม้ผล สามารถเลี้ยงปลาได้
2. ผสมผสานการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง
3. การเลี้ยงสัตว์ในไร่นาสวนผสม
4. น้ำจากบ่อปลานำไปใช้ในการปลูกพืชผัก ขอบบ่อเศษวัสดุการเกษตรยังเป็นอาหารเสริมของปลาได้

เนื้อหาการสัมภาษณ์

จากการไปสัมภาษณ์ นางสมพิษ ติยะภา ที่หมู่บ้านดอนข่า หมู่ ที่ 7 อ.ชนบท ต.ชนบท จ.ขอนแก่น 40180
พบว่าในแต่ละปีมีการปลูกพืชไร่พืชสวน และการทำเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อที่่จะนำไปขายเป็นรายได้ ให้แกควรเรือน
บองตน แต่การทำเกษตรในแต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลงไปมากในด้าน ดิน ฟ้า อากาศ นำ้ ลมฝนที่เป็นปัญหาในการทำการเกษตรในด้านนั้น เป็นอย่างมาก และอีกปัญหาหนึ่งคือผลิตโตไม่ได้เต็มทีเท่าที่ควร ชาวบ้านที่นี่สวน
มากจะทำการเกษตรแบบผสมผสานที่มีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อรักษาหน้า ดิน ให้ปลูกพืชได้หลากหลายชนิด แต่การทำการเกษตรแบบผสมผสานต้องพบความเสี่ยงจากการขาดน้ำไม่ก็น้ำท่วมหรือปัญหาจากแมลงที่เป็นศัตรูของพืชที่มากัดกินทำใ้ห้ได้ผลิตที่ลดน้อยลงแต่ในอดีตมีการคิดค้นยาฆ่าแมลงที่มากินพืชโดยการนำ พวก สะเดามาใช้ในการฆ่าแมลง
โดยการนำวันถุดิบจากธรรมชาติมาใช้เป็นต้น แต่ในปััจจุบันกับมีการนำสารเคมีมาใช้กันอย่างแพร่หลายที่มีการทำให้ ผลผลิตเกิดการเจริ ญงอกงาม แต่กอมีราคาที่แพงมากทำให้เกษตรกรต้องมีรายได้ ที่น้อยลงกว่าที่ควรได้

สรุป




  • จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านที่ อ.ชนบท ทราบว่าในตอนนี้ก็ใกล้จะถึงฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยว
  • ชาวบ้านก็จะคอยระวังเพื่อไม่ให้ผลผลิตเกิดการเสียหายและต้องคอยทำให้เกิดผลผลิตที่มาก
  • ขึ้นเพื่อที่จะนำไปขายให้ได้ราคาีที่ดีและได้คุณภาพมากที่สุดและชาวบ้านที่นี่ก็ยังบอกว่า การเก็บเกี่ยวเป็นไปได้อย่างลำบากมาก เพราะทุกปีในการเก็บเกี่ยวนั้นมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ล่าช้า
  • มากและทำให้เกิดการนำเสียก่อนการนำไปขายทำให้เกิดรายได้ที่ลดน้อยลงและก็เป็นปัญหา
  • อย่างมากกับชาวบ้านที่น